การส่งออกโครงการสี่แม่น้ำที่ล้มเหลวมาประเทศไทย – ข่าวต่างประเทศ
ข่าวเรื่อง “การส่งออกโครงการสี่แม่น้ำที่ล้มเหลวมาประเทศไทย”
จากเวบไซต์หนังสือพิมพ์ ฮันกยอเร ของเกาหลีใต้
เครดิตคุณ Uraiwan Norma
————————
รายงานเมื่อวันพุธที่ 2 ตุลาคม
ตั้งข้อสังเกตความผิดปกติในข้อกำหนดจัดซื้อจัดจ้าง(ทีโออาร์)
โครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลไทย
ที่ โคเรีย วอเตอร์ รีซอร์สเซส (เค-วอเตอร์) ชนะการประมูล
โมดูล เอ 1 พื้นที่แก้มลิง และ เอ 5 ฟลัดเวย์ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา
ในเงื่อนไขที่กำหนดให้เควอเตอร์
องค์การรัฐวิสาหกิจหลักที่ดูแลการบริหารจัดการน้ำของเกาหลีใต้
เป็นผู้จัดการเรื่องค่าเวนคืนที่ดินแก่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการที่ชนะการประมูล
ทั้งยังจะต้องออกค่าชดเชยในส่วนที่เกินจากวงเงินค่าใช้จ่าย
ในการจัดหาที่ดินตามที่กำหนดไว้ในสัญญา
ผู้เชี่ยวชาญของเกาหลีใต้และไทย
ต่างแสดงความเห็นว่าเงื่อนไขนี้ อันตราย และผิดปกติอย่างมาก
เนื่องจากกำหนดให้บริษัทต่างชาติที่มีความเข้าใจสถานการณ์ท้องถิ่นอย่างจำกัด
จัดการเรื่องร้องเรียนค่าชดเชยที่ดิน
สำหรับการดำเนินโครงการวิศวกรรมโยธาขนาดใหญ่
ที่อาจก่อปัญหาขัดแย้งที่ไม่สามารถจัดการได้
รวมถึงการเผชิญหน้าทางกายภาพที่อาจจะเกิดขึ้น
โครงการบริหารจัดการน้ำ 3 แสนล้าน
ที่มักถูกเปรียบกับโครงการสี่แม่น้ำของเกาหลีใต้
เควอเตอร์และสื่อสายอนุรักษ์นิยมหลายสำนักในเกาหลีใต้
พากันแซ่ซ้องยินดีกับการชนะประมูลว่า
เป็นหนทางใหม่ในการส่งออกเทคโนโลยีโครงการน้ำของประเทศ
แต่ทีโออาร์ที่รัฐบาลไทยร่างขึ้นเมื่อมีนาคม
ในข้อ 4.3 ว่าด้วยการจัดหาที่ดินและการขออนุญาตใช้พื้นที่
กำหนดให้ผู้รับจ้างต้องร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง
จัดหาที่ดินสำหรับใช้ดำเนินโครงการก่อสร้าง
และขออนุญาตใช้ที่ดิน
อีกทั้งจะต้องรับผิดชอบด้านค่าชดเชยที่ดินแก่
ชาวบ้าน ค่าทรัพย์สิน ค่ารื้อย้าย และอื่นๆ
โดยรัฐบาลไทยในฐานะผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้าง
เพื่อการจัดหาที่ดินตามที่มีการจ่ายจริง
แต่ไม่เกินวงเงินค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่ดินตามที่กําหนดไว้ในสัญญา
หากเกินจากนั้น ผู้รับจ้างต้องเป็นรับภาระไป
ทั้งยังกำหนดว่ารัฐบาลไทยจะหักส่วนต่างออก
หากค่าใช้จ่ายจริง ต่ำกว่าวงเงินค่าใช้จ่ายจัดหาที่ดินในสัญญาอีกด้วย
ยกตัวอย่างเช่นหากเควอเตอร์
ได้วงเงินค่าชดเชยการใช้ที่ดิน 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
และค่าใช้จ่ายที่เหลือสำหรับโครงการ 5,000 ล้านดอลลาร์
หากค่าชดเชยจริงอยู่ที่ 1,200 ล้านดอลลาร์
เควอเตอร์จะต้องจ่ายส่วนต่าง 200 ล้านดอลลาร์
แต่หากค่าใช้จ่ายจริงอยู่ที่ 800 ล้านดอลลาร์
รัฐบาลไทยก็จะหักส่วนต่าง 200 ล้านดอลลาร์
ออกจากวงเงินค่าชดเชยที่ดิน 1,000 ล้านนั้น
รายงานอ้างความเห็นของ ดร. เสรี ศุภราทิตย์
ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต
กรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
หรือ กยน.กล่าวว่า เงื่อนไขในสัญญา
ไม่น่าเป็นที่พอใจของเควอเตอร์
“ในฐานะผู้ที่กำกับโครงการ
รัฐบาลไทยควรเป็นฝ่ายรับภาระค่าใช้จ่ายชดเชยการใช้ที่ดิน
แต่สัญญาโยนให้กับผู้รับจ้าง”
นายปาร์ค ชาง กึน ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยกวานดง
กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายการชดเชยที่ดินสำหรับโครงการสี่แม่น้ำในเกาหลีใต้
เกินจากที่ประเมินไว้มาก
“ค่าชดเชยที่ดิน เป็นต้นทุนที่คาดการณ์ได้ยากที่สุดในโครงการใดก็ตาม
จึงเข้าใจได้ยากว่าเหตุใด พวกเขาจึงรับงานนี้”
รายงานอ้างแหล่งข่าวเควอเตอร์ว่า
บริษัทจะพยายามเจรจากับรัฐบาลไทยอีกครั้งเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายส่วนนี้
ระหว่างเจรจาทำสัญญาอย่างเป็นทางการ
แต่นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
เลขาธิการสำนักนโยบายและแผนบริการจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.)
เผยกับฮันกยอ เร ทางอีเมล์ว่า
การเจรจาใหม่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้
ผู้รับจ้างมีพันธกรณีที่จะต้องรวบรวมข้อมูล
เกี่ยวกับค่าชดเชยที่ชาวบ้านต้องการ
และต้นทุน ตอนที่ทำการศึกษาความเป็นไปได้ (?)
นอกจากนี้ ประเด็นจริยธรรมกับการส่งออกโครงการ
เป็นอีกหนึ่งความวิตก นายยอม ฮยอง ชอล
เลขาธิการสหพันธ์ขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมแห่งเกาหลีใต้
ชี้ว่า แม้เป็นที่ประจักษ์ชัดขึ้นเรื่อยๆในเกาหลีใต้ว่า
โครงการสี่แม่น้ำคือความล้มเหลว
แต่เควอเตอร์ที่มีบทบาทหลักในโครงการนี้
กลับกล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่าในไทยว่า
นี่คือความสำเร็จ
ตนคิดว่าไม่ใช่เรื่องถูกต้อง
ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการจัดการน้ำ
ที่ไม่คำนึงถึงกระบวนการที่ควรจะเป็น
และการมีส่วนร่วมของประชาชน
เหมือนกับที่เควอเตอร์เคยทำกับโครงการสี่แม่น้ำ
โดยคำนึงถึงแต่เม็ดเงินที่จะได้รับ
(Hankyoreh เป็นสื่อแนวซ้าย/เสรีนิยม
ผลสำรวจความเห็นผู้สื่อข่าวในเกาหลีใต้
ยกฮันกยอเร เป็นสื่อน่าเชื่อถือมากที่สุด )
(เก็บความจาก Exporting the failed Four Major Rivers Project to Thailand -
http://english.hani.co.kr/arti/english_edition/e_international/605500.html )
ใส่ความเห็น
คุณต้องเข้าสู่ระบบ เพื่อจะพิมพ์ความเห็น