นักศึกษามช.รวมตัวใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ครณรงค์ค้านเขื่อน หน้าคณะมนุษยศาสตร์

ไทยพีบีเอส : นักศึกษา มช. ลงพื้นที่สันป่าตอง พบ “เขื่อนแม่แจ่ม” กระทบวิถีชีวิตชาวบ้าน

ย้ายไปจัดที่หน้าหน้าคณะมนุษยศาสตร์ 

203053-imagepng-305202

ชาวบ้านแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ยืนยันคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนแม่แจ่ม ตามแผนการจัดการน้ำของรัฐบาล ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ขณะที่นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดเสวนาแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับแผนพัฒนาและการจัดการน้ำในไทย

นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเสวนา หัวข้อ “เขื่อน อินเชียงใหม่” เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลโครงการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล และการจัดการน้ำในไทย รวมถึงทิศทางการศึกษา และจังหวะก้าวในมุมมองของพลังนักศึกษา กับการจัดการทรัพยากรในไทย

 
นักศึกษาที่ร่วมเสวนา บอกว่า ได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชาวบ้าน และพบว่าการสร้างเขื่อนในเชียงใหม่ ทั้งเขื่อนแม่ขาน ในอ.สันป่าตอง และเขื่อนแม่แจ่ม อ.แม่แจ่ม ส่งผลกระทบวิถีชีวิตของชาวบ้านเป็นอย่างมาก
 
ส่วนที่บ้านแม่ซา ต.แม่นาจร อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เป็น 1 ใน 3 หมู่บ้าน ในพื้นที่รับน้ำของเขื่อนแม่แจ่ม และชาวบ้านทั้งหมู่บ้าน จะต้องอพยพออกจากพื้นที่ รวม 211 ครอบครัว ต่างติดป้ายคัดค้านโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่แจ่ม เพื่อแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนแม่แจ่ม เพราะ ทำให้พวกเขาต้องอพยพจากถิ่นฐาน และสูญเสียที่ทำกิน
 
ทั้งนี้ ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับผลกระทบเตรียมหารือร่วมกัน ก่อนร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน ที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย หรือ กบอ.จะจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 30 ตุลาคมนี้

 

YouTube Preview Image

ย้ายไปจัดที่หน้าหน้าคณะมนุษยศาสตร์ นักศึกษามช.รวมตัวใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ครณรงค์ค้านเขื่อน ตั้งกลุ่ม “กล้ากราว”เปิดเพจในเฟสบุคหนุนชาวบ้าน-สิทธิชุมชน ระดมพลังเคลื่อนไหวใหญ่วันที่ 29 ชี้ “ค่าคน” มากกว่า”ค่าเขื่อน”

531852_627913127251976_627118406_n

วันที่ 28 ตุลาคม 2556 นายธีระพงศ์ โพธิ์มั่น นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต เปิดเผยว่า ก่อนที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.)จะจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในวันที่ 30 ตุลาคมนี้ ทางเครือข่ายภาคประชาชนและนักศึกษาได้ร่วมกันจัดเวทีเพื่อรวมพลังในการรณรงค์คัดค้านเขื่อนในพื้นที่ขึ้นในวันที่ 29 ตุลาคม โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 300 คน ซึ่งในส่วนของนักศึกษาจะมีการจัดเวทีรณรงค์เรื่อง”ค่าคน ค่าเขื่อน” ขึ้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.)โดยมีกิจกรรมแสดงดนตรีและแจกสติกเกอร์คัดค้านเขื่อน ภายใต้กิจกรรมของนักศึกษากลุ่ม กล้ากราว (Gla ground ) ที่ร่วมกันเปิดเพจในเฟสบุ๊ค เพื่อรณรงค์คัดดค้านเขื่อนและอนุรักษ์ธรรมชาติ เช่น ชาวมช.ค้านเขื่อนแม่วงก์ , CMU Love Nature , รณรงค์ค้านเขื่อนแม่แจ่ม ขณะที่ภาคประชาชนจะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดการทรัพยากรชุมชน ที่มูลนิธิเศรษศาสตร์ฯ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำกิจกรรมค้านเขื่อนต่อไป 

นายธีระพงค์ กล่าวว่า กิจกรรมที่เกิดขึ้น เป็นจุดเริ่มในการรวมพลังนักศึกษาอันเป็นคนรุ่นใหม่ให้เข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้สถานการณ์สิ่งแวดล้อม และโครงการใหญ่ในภาครัฐ เพื่อรับข้อมูลข่าวสารในการเคลื่อนไหวทางสังคมด้วยวิธีสันติ ซึ่งตัวแทนองค์การพัฒนาเอกชน จะสนับสนุนเรื่องข้อมูลและงบประมาณบางส่วน รวมทั้งนำนักศึกษาลงพื้นที่ร่วมกันด้วย เพื่อจะได้วางแผนในการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อการรณรงค์ในอนาคต โดยเวทีที่เชียงใหม่เป็นเวทีแรก

“นักศึกษาหลายคน ผ่านการลงพื้นที่มาบ้างแล้ว ในรูปแบบอาสาสมัคร บ้างก็มีการแชร์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค บ้างก็ทำหน้าที่ในการแสดงดนตรีเพื่อความเพลิดเพลิน บ้างก็ร่วมรณรงค์กรณีค้านเขื่อนแม่วงก์ แม่แจ่ม มาก่อน ซึ่งพวกเขากระจัดกระจายกันอยู่ และมีการติดต่อกันผ่านโลกออนไลน์ และนำมาสู่เวทีแลกเปลี่ยนร่วมกัน นับเป็นโอกาสดีในการเปิดโลกข้อมูลเรื่องเขื่อน ข้อดี ข้อเสีย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน เพื่อให้นักศึกษาที่เป็นพลังของสังคมได้รับรู้ และสร้างบทบาททางการเคลื่อนไหวต่อไป ในฐานะปัญญาชนของสังคม” นายธีระพงศ์ กล่าว

576563_627938000582822_376420714_n

ด้านนส.เบญจพรรณ มะโนหาญ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มช. กล่าวว่า กลุ่มกล้ากราวด์ เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของนักศึกษาที่สนใจประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของเครือข่ายภาคประชาชนที่จัดขึ้นเกี่ยวกับประเด็นสิ่งแวดล้อม จะได้เป็นหนทางในการติดต่อเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาทุกภาคส่วน โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาทั่วประเทศสามารถติดต่อเครือข่ายต่างๆ ได้โดยตรงผ่านกลุ่มในเฟสบุ๊ค นอกจากนี้ยังมีการอ่านการแถลงการณ์ของภาคนักศึกษาในวันที่ 29 ตุลาคม เวลาประมาณ 19.00 น.ด้วย โดยเน้นที่การเรียกร้องให้รัฐบาล ทบทวนโครงการสร้างเขื่อนและฟลัดเวย์ ตามแผนการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน แล้วหันมาให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรโดยประชาชน เคารพในสิทธิชุมชน และชาติพันธุ์ต่างๆ ในการมีส่วนร่วมในการดูแลปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นส.ธรรมนิจ ศุภกิจเจริญ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะมนุษย์ศาสตร์ มช. กล่าวว่า เขื่อนแม่วงก์ คือ จุดเริ่มแรกที่ทำให้นักศึกษาสนใจสถานการณ์เขื่อนมากขึ้น การเคลื่อนไหวครั้งนั้น ถือว่า เปิดหู เปิดตานักศึกษาให้รับรู้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อาจเป็นเพราะมีกระแสออนไลน์ที่เร็วและสะดวก จึงมีกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้าร่วมได้ง่าย เชื่อว่าการคัดค้านเขื่อนอื่นหากอาศัยโลกออนไลน์เผยแพร่ข้อมูลก็จะสำเร็จได้เช่นกัน แต่เหตุผลที่เราเลือกแม่แจ่ม เพราะใกล้สถานศึกษา ซึ่งหากกลุ่มอื่นสนใจรูปแบบก็อาจนำไปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองได้ ไม่สำคัญว่าเป็นพื้นที่ใด สำคัญแค่ทำเพื่ออะไร

ใส่ความเห็น